วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานจากการระดมสมองเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์
1. นวัตกรรมการศึกษา

1.1. ความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวัตกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า "Innovation"คือกระบวนการใหม่ ๆ ทางด้านการศึกษา อาทิ วิธีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ วิธีการเรียนการสอนที่เป็น Program เป็น Module มีลักษณะการเรียนการสอนคล้ายกับต่างประเทศ เป็นโปรแกรม ที่สามารถเปิดการเรียนได้ทันที ไม่ต้องขอตามระบบตามขั้นเหมือนระบบราชการของเรา หลักสูตรที่เปิดสอนมีขึ้นตามความต้องการของตลาด อีกประการหนึ่งคือเกี่ยวข้องกับ Area ใหม่ ๆ ที่สำคัญกับประเทศ ที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา อย่างที่เราเคย Identify ไว้ เช่นในระยะแรก หลักสูตรการบริหารเทคโนโลยี นับว่าวิทยาลัยของเราเป็นสถานที่แรกเริ่มโดยการนำเอาศาสตร์ของการบริหารและเทคโนโลยีมาผสานกัน ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเพิ่มหลักสูตรการบริหารงานวัฒนธรรมขึ้นมา โดยการนำเอาศาสตร์ และศิลป์มาผสมสานกันและนี่ก็คือตัวอย่างของกระบวนการทางการศึกษาที่เรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษาสิ่งที่จะถือว่าเป็นนวัตกรรม มีข้อสังเกตดังนี้
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และช่วยให้การดำเนินงานมี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆที่นำมาใช้ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

1.2. ประเภทของนวัตกรรม
1. Incremental Innovation การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิม มาทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Radical Innovation เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
3. Architectural Innovation การนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาประกอบขึ้นใหม่

1.3. ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม มี 5 ขั้นตอน คือ
1. การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม
2. การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน
3. การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์
4. ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย
5. การขยายผล ( Diffusions ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย

1.4. การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรม
การยอมรับนวัตกรรมบุคคลจะปฏิเสธนวัตกรรมด้วยสาเหตุหลัก 4 ประการ ดังนั้นในการกระตุ้นให้บุคคลยอมรับนวัตกรรมนั้นๆ ต้องแก้ไขปัญหาหลัก 4 ประการเอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์,2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน1. ขึ้นตื่นตัว เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นๆ
2. ขั้นสนใจ เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ก็จะเริ่มหาข้อมูล
3. ขั้นไตร่ตรอง ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของตนได้จริงหรือไม่
4. ขั้นทดลอง เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้ ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้
5. ขั้นยอมรับ เมื่อทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ ก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวร หรือจนกว่าจะเห็นว่าด้อยประสิทธิภาพ หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้นอีกต่อไป
การปฏิเสธนวัตกรรม มีสาเหตุหลัก 4 ประการดังนี้
1. ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ โดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2. ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
3. ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
4. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ

1.5. การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาสำหรับนวัตกรรมกับการศึกษา
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา ก็เป็นการนำแนวคิดใหม่ๆ ไปใส่การศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบที่เราอยากให้เป็น เช่น อยากให้คนเรียนรู้มากขึ้น เก่งขึ้น ทำวิจัย เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งในทางนวัตกรรมการศึกษานั้นคิดว่าต้องเป็นบวกแน่นอน เพราะคงไม่มีใครคิดจะให้การศึกษาถอยหลัง แต่เราก็ต้องดูด้วย เพราะไม่แน่ สิ่งที่คิดว่าเป็นบวกในสังคมหนึ่ง มันอาจจะเป็นลบ กับอีกสังคมหนึ่งก็ได้

2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ

2.2. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประการ คือ
3.1 สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
3.2 สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ สื่อท้องถิ่น และสื่อกิจกรรม4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

2.3. ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์โดยตรงที่สามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงนอกจากนี้ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆคน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

2.4. การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข

3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป

3.2. ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAIหมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

3.3. ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สรุปได้ 8 ประเภท คือ
1. แบบการสอน (Instruction) เพื่อใช้สอนความรู้ใหม่แทนครู ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบ Self Study Package เป็นรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเอง จะเป็นชุดการสอนที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะในการพัฒนาที่สูงมาก เพราะจะยากเป็นทวีคูณกว่าการพัฒนาชุดการสอนแบบโมดูลหรือแบบโปรแกรมที่เป็นตำรา ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทมากในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะ IMMCAI :Interaction Multi Media CAI บน Internet
2. แบบสอนซ่อมเสริมหรือทบทวน (Tutorial) เป็นบทเรียนเพื่อทบทวนการเรียนจากห้องเรียนหรือจากผู้สอนโดยวิธีใด ๆ จากทางไกล หรือทางใกล้ก็ตาม การเรียนมักจะไม่ใช่ความรู้ ใหม่ หากแต่จะเป็นความรู้ที่เคยได้รับมาแล้วในรูปแบบอื่น ๆแล้วใช้บทเรียนซ่อมเสริมเพื่อตอกย้ำ ความเข้าใจที่ถูกต้องและสมบูรณ์ดีขึ้นสามารถใช้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังนั้น CAI ประเภทนี้จึงไม่สามารถนำมาสอนแทนครูได้ทั้งหมด เพียงแต่นำมาใช้สอนเสริมหรือใช้ทบทวนในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนมาแล้วในชั้นเรียนปกติ
3. แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice) เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติหรือเสริมทักษะ กระทำบางอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้นและเกิดทักษะที่ต้องการได้ เป็นการเสริมประสิทธิผลการเรียนของผู้เรียน สามารถใช้ในห้องเรียน เสริมขณะที่สอนหรือนอกห้องเรียน ณ ที่ใด เวลาใดก็ได้ สามารถใช้ฝึกหัดทั้งทางด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งทางช่างอุตสาหกรรมด้วย
4. แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสถานการณ์ที่จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกล ไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอน ใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ได้ เวลาใด ก็ได้
5. แบบสร้างเป็นเกม (Game) การเรียนรู้บางเรื่อง บางระดับ บางครั้ง การพัฒนาเป็นลักษณะเกม สามารถเสริมการเรียนรู้ได้ดีกว่า การใช้เกมเพื่อการเรียน สามารถใช้สำหรับการเรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเสริมการเรียนในห้องเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถสอนทดแทนครูในบางเรื่องได้ด้วย จะเป็นการเรียนรู้จากความเพลิดเพลิน เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีระยะเวลาความสนใจสั้น เช่น เด็ก หรือในภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เป็นต้น
6. แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นการฝึกการคิด การตัดสินใจ สามารถใช้กับวิชาการต่าง ๆ ที่ต้องการให้สามารถคิด แก้ปัญหา ใช้เพื่อเสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ในการฝึกทั่ว ๆ ไป นอกห้องเรียนก็ได้ เป็นสื่อสำหรับการฝึกผู้บริหารได้ดี
7. แบบทดสอบ (Test) เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดความสามารถของผู้เรียน สามารถใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือใช้ตามความต้องการของครู หรือของผู้เรียนเอง รวมทั้งสามารถใช้นอกห้องเรียน เพื่อตรวจวัดความสามารถของตนเองได้ด้วย
8. แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery) เป็นการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ จากประสบการณ์ของตนเอง โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นการจัดระบบ นำล่องเพื่อชี้นำสู่การเรียนรู้ สามารถใช้เรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิม และใช้ ประกอบการสอนในห้องเรียนหรือการเรียนนอกห้องเรียน สถานที่ใด เวลาใด ก็ได้

3.4. ข้อดี ข้อจำกัดข้อดี
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
1. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
4. ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
5. ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
6. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
8. สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
9. สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
10. ให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
11. ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย12. ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
2. ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
3. ใช้เวลาในการพัฒนานาน
4. การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน

3.5. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7. สร้างมาตรฐานการสอน

3.6. การใช้และการประเมินผล
คอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างมากที่สุด ในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในระบบบริหาร และช่วยสอนอย่างมากมาย แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บทเรียนที่มีคุณภาพและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงยังคงต้องได้รับความเอาใจใส่และพัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทุกด้าน

4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT) หรือที่เรียกว่า ไอที นั้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ หรือการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

4.2. ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. ระบบสนับสนุนการทำงานในการปฏิบัติงานประจำวัน (Official information System:OIS)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System :MIS)
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
4.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System :EIS)5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)

4.3. ข้อดี – ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อดี
-มีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
-ทำให้วิถีความเป็นอยู่สังคมเปลี่ยนไปข้อจำกัด
-มีค่าใช้จ่ายสูง
-บุคคลากร

4.4. แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน

4.5. การประเมินผลการใช้งาน
จัดทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม ให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา
การสื่อสารมวลชน การที่ข่าวสารจะส่งจากแหล่งส่งไปยังผู้รับได้นั้นสามารถกระทำได้ด้วยกระบวนการของ “สื่อสาร” เมื่อนำกระบวนการนี้มาใช้กับสื่อมวลชนจึงเรียกว่า “สื่อสารมวลชน” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนหรือผู้รับจำนวนมาก โดยที่ผู้ส่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคนที่รวมกันเป็นองค์กรหรือสถาบัน

บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ
เป็นสื่อที่มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อประเภทที่แตกต่างกันนี้ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้รับสารสื่อต่างๆ

สื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม
ดาบสองคม มีทั้งคุณและโทษ อาจดีอาจเสียก็ได้ เปรียบเหมือนสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนก็มีทั่งคุณและโทษเช่นเดียวกันถ้าบุลคลใดที่นำไปใช้ประโยชน์ก็จะได้ประโยชน์มากส่วนบุลคลที่นำไปให้ในทางที่ไม่มีแล้วก็จะเกิดผลเสียแก่ตัวเองและสังคมในทางลบ

มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวี
การจัดเรตติ้งทีวีก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะให้ทีวีแต่ละช่องมีการพัฒนาการรายต่างๆ ให้มีความทันสมัยและผู้ชมสามารถจะเลือกชมได้หลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้ชม

SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมคือ
SMS หมายถึง การส่งข้อความ หรือ การส่งรูปภาพ
ผลดีต่อสังคม
สามารถที่จะส่งไปให้ผู้รับได้กว้างไกล และเป็นการบริการที่ทันสมัยและรวดเร็วเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ผลเสียต่อสังคม
อาจจะมีการส่งไปเมื่อการทำลายให้คนอื่นเสียหาย หาคนส่งยาก

การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอน
- เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
- สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้ - เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ - สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
- แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด

แนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา
สื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่. สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และวีดิทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อประสม
2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา
สื่อมวลชน หมายถึงอะไร
สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
การสื่อสารมวลชน การที่ข่าวสารจะส่งจากแหล่งส่งไปยังผู้รับได้นั้นสามารถกระทำได้ด้วยกระบวนการของ “สื่อสาร” เมื่อนำกระบวนการนี้มาใช้กับสื่อมวลชนจึงเรียกว่า “สื่อสารมวลชน” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนหรือผู้รับจำนวนมาก โดยที่ผู้ส่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคนที่รวมกันเป็นองค์กรหรือสถาบัน

สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนสื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา

สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร?
เพราะในสังคมไทยที่กำลังผันแปรด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีจำนวนมาก และมีความสำคัญต่อคนไทย สื่อมวลชนซึ่งเป็นเสมือนกระจกสะท้อนสภาพสังคม สามารถทำหน้าที่ชี้แนะด้วยการคัดเลือก ข่าวเพื่อเสนอต่อผู้รับสาร ตามลักษณะการนำเสนอของสื่อมวลชนแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อประเภทที่แตกต่างกันนี้ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้รับสารในการกระตุ้นความสนใจในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในระดับต่างกัน ความแตกต่างในระดับใดนั้น ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของสื่อชนิดนั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยในเรื่องคุณภาพข่าวสาร

มีความคิดเห็นอย่างไร? กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม
ดาบสองคม มีทั้งคุณและโทษ อาจดีอาจเสียก็ได้ เปรียบเหมือนสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนก็มีทั่งคุณและโทษเช่นเดียวกันถ้าบุลคลใดที่นำไปใช้ประโยชน์ก็จะได้ประโยชน์มากส่วนบุลคลที่นำไปให้ในทางที่ไม่มีแล้วก็จะเกิดผลเสียแก่ตัวเองและสังคมในทางลบ

มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร ?
การจัดเรตติ้งทีวีก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะให้ทีวีแต่ละช่องมีการพัฒนาการรายต่างๆ ให้มีความทันสมัยและผู้ชมสามารถจะเลือกชมได้หลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้ชม

SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร ?
SMS หมายถึง การส่งข้อความ หรือ การส่งรูปภาพ
ผลดีต่อสังคม
สามารถที่จะส่งไปให้ผู้รับได้กว้างไกล และเป็นการบริการที่ทันสมัยและรวดเร็วเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ผลเสียต่อสังคม
อาจจะมีการส่งไปเมื่อการทำลายให้คนอื่นเสียหาย หาคนส่งยาก

การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง ?
ใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน
6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม

จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร?
แนวทางการนำสื่อมวลชนมาใช้การการศึกษาสื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์
2. วิทยุ
3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์
4. ภาพยนตร์
5. สื่อประสม
สามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน
2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง
สิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์ หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดี บันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือวัสดุพื้นเรียบสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งพิมพ์ในรูแบบต่างๆที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยบรรจุเนื้อหาสาระที่ดีมีประโยชน์และให้ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ ส่วนสิ่งพิมพ์เพื่อการสอน หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้เฉพาะอย่างตามหลักสูตรการเรียน ซึ่งอาจเย็บรวมเล่มหรือเป็นแผ่น ทั้งที่ใช้พิมพ์หรือเขียนประเภทของสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งพิมพ์ทั่วไป และสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ได้แก่สิ่งพิมพ์ทั่วไป
1. หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์สามารถให้ประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง ดังนี้
- ช่วยฝึกทักษะในการอ่าน
- ให้ผู้อ่านได้ศึกษา วิเคราะห์ และวิจารณ์ข่าวสาร
- ให้ความรู้เบื้องต้น
- ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ประจำวัน
- เป็นเครื่องวัดระดับความรู้และความสนใจของชุมชน
- สามารถเก็บหนังสือพิมพ์เป็นหลักฐานในการค้นคว้า อ้างอิง
2. นิตยสาร วารสาร และจุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปเล่มของหนังสือที่ออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน หรือแล้วแต่ระยะเวลาสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
1. หนังสือตำรา เป็นสื่อที่พิมพ์เป็นเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหาตามหลักสูตรการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียด อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. พจนานุกรม
4. สารานุกรม
5. หนังสือภาพหรือภาพชุดต่างๆ
6. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
7. สิ่งพิมพ์ย่อส่วน หนังสือเก่าหรือชำรุดหรือหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากย่อมไม่สะดวกในการเก็บรักษา จึงอาศัยวิธีการเทคโนโลยีใยการทำสิ่งพิมพ์ย่อส่วน ได้แก่
- ไมโครฟิล์ม เป็นการถ่ายหนังสือแต่ละหน้าลงบนม้วนฟิล์ม
- ไมโครฟิช เป็นแผ่นฟิล์มแข็งขนาด 4 x6 นิ้ว สามารถบันทึกข้อความจากหน้าหนังสือโดยย่อเป็นกรอบเล็กๆ หลายๆ กรอบการใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาจำแนกได้ 3 วิธี คือ
1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเรียน
2. ใช้เป็นวัสดุการเรียนร่วมกับสื่ออื่นๆ
3. ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์
สื่อสิ่งพิมพ์ทั้ง 3 วิธี ผู้สอนสามารถนำสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ทั่วไปหรือเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะมาใช้ในการเรียนการสอน โดยพิจารณาตามลักษณะของสิ่งพิมพ์และลักษณะของการใช้ ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะของหนังสือตำรา
2. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อง่ายต่อการศึกษา
3. สิ่งพิมพ์เสริมการเรียนการสอน เช่น แบบปฏิบัติ
4. สิ่งพิมพ์ทั่วไปๆ ไป เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์
5. สิ่งพิมพ์ประเภทภาพชุด
วิทยุ
วิทยุเป็นอุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข้อมูลทางด้านเสียงโดยใช้คลื่บแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อการสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 โดยใช้ในและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุโรงเรียน” ถ้านอกระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุไปรษณีย์” เราเรียกการใช้วิทยุในการศึกษารวมเรียกว่า “วิทยุศึกษา”การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา
1.การสอนโดยตรง เป็นการใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อสอนโดยตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียน รายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอตามเนื้อหาบทเรียนในหลักสูตร การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้
- ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
- ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้
- ใช้เป็นสื่อหลักในการศึกษาตามหลักสูตร
- ใช้เป็นสื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รายการวิทยุเป็นสื่อเสริมประเภทในระบบ

การศึกษาทางไกล
- ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม
2.การเพิ่มพูนคุณค่าในการสอน เป็นการใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
โทรทัศน์การใช้โทรทัศน์การศึกษาและการสอน
1. การสอนโดยตรง เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน
- ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
- ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู
- ใช้เป็นสื่อเพื่อเสริมความรู้
- ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด
- เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม
2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
วีดิทัศน์แถบวีดิทัศน์เป็นวัสดุสำคัญที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทปในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียง แถบวีดิทัศน์จะใช้กับเครื่องเล่นวีดิทัศน์ซึ่งต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อเล่นภาพและเสียงออกมา
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพนิ่งเรียงติดต่อกันที่ถูกบันทึกลงบนม้วนฟิล์มด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ เมื่อฉายฟิล์มไปที่จอภาพภาพยนตร์การศึกษา หมายถึง ภาพยนตร์ที่เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล เรื่องราว แนวคิด เหตุการณ์ ให้ผู้ชมได้รับความรู้จากเรื่องราวที่เสนอ โดยไม่จำกัดกลุ่มผู้ชมการใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอน การใช้ภาพยนตร์ในชั้นเรียน ผู้สอนต้องตั้งจุดประสงค์ว่าจะใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอนโดยตรงหรือเพื่อประกอบการสอน เพราะภาพยนตร์เรื่องเดียวอาจใช้เนื้อหาเพื่อสนองตามจุดประสงค์ที่แตกต่าง ในการใช้ภาพยนตร์นั้นอาจจะใช้ทั้งเรื่องหรือเลือกเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งมาใช้สอนก็ได้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งผู้สอนควรยึดหลักการดังนี้
1.ก่อนนำมาฉายในชั้นเรียน ผู้สอนควรทราบถึงรายละเอียดและความสำคัญของเนื้อเรื่องนั้นก่อน
2.ควรมีการเตรียมพร้อมผู้เรียนเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์
3. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขณะฉายภาพยนตร์ซึ่งอาจทำได้โดย- หยุดฉายภาพยนตร์เพื่อให้ผู้เรียนซักถาม- หยุดฉายภาพยนตร์เพื่อทดลองฝึกทักษะ- สอดแทรกคำถามให้ผู้เรียน
4. ควรใช้ภาพยนตร์คู่กับสื่อๆ
5. ใช้ภาพยนตร์สี
6. ฉายภาพยนตร์บางตอนซ้ำ
7. มีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำหลังชมภาพยนตร์
สื่อประสม
การใช้สื่อประเภทอื่นมาใช้ร่วมด้วยในลักษณะของ”สื่อประสม” มีการใช้ดังนี้ คือ
1. สื่อหลัก โดยใช้สื่อมวลชนในการสื่อสารระหว่างผู้สอน
2. สื่อเสริม
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันคนละสถานที่ แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อมวลชน 2 ประเภท คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์การใช้สื่อมวลชนในการศึกษาทางไกล
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำแนกเป็นสื่อประเภทเสียง และสื่อประเภทเสียงและภาพ
2. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเอง อยู่ในรูปแบบของชุดการเรียนสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ให้ความสะดวกแก่ผู้เรียนและเอื้ออำนวยในการศึกษาทางไกล ดังนี้
- เป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้เวลาศึกษาได้ตามความสามารถ
- สามารถทราบผลการศึกษาจากกิจกรรมและคำถามท้ายเรื่อง
- สามารถทราบผลความก้าวหน้าของการศึกษาจากอาจารย์
- สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานต่างๆ
- ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในความสามารถของตน
3. สื่อบุคคล คือ อาจารย์ ผู้เรียน ในการสื่อสารกันของสื่อบุคคลสามารถกระทำได้ในลักษณะต่อไปนี้
- การติดต่อทางไปรษณีย์
- การติดต่อทางโทรศัพท์
- การจัดทบทวนในท้องถิ่นแต่ละแห่งโดยเชิญวิทยากร
- การเข้าศึกษากับอาจารย์สัญจร
- การรวมกลุ่มของผู้เรียนในแต่ละแห่งเพื่ออภิปรายเนื้อหา
- การติดต่อปรึกษาหารือกันระหว่างเรียน

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

งานวิชานวัตกรรมและเทคโนโนโลยีเพื่อการเรียนรู้


งานวิชานวัตกรรมและเทคโนโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
สมมุติท่านได้รับเชิญให้เป็นผู้ให้ความรู้เยวกับการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา หรือ โสตทัศนูปกรณ์ แก่ครูที่บรรจุใหม่ซึ่งยังไม่มีความรู้ในด้านเหล่านี้ โดยให้เวลาประมาณ 3 วัน ท่านจะดำเนินการอย่างไร ? โปรดนำเสนอรายละเอียดในประเด้นเหล่านี้1. ท่านจะตั้งหัวข้อในการอบรมว่าอย่างไร?2. ท่านจะกำหนดวัตถุประสงค์ในการอบรมอย่างไร?(เขียนเป็นข้อๆ)3. มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดบ้างที่ท่านคิดว่าครูควรจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครู4. ให้ท่านนำเสนอรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละเครื่องมือในประเด็นเหล่านี้-หลักการและประโยชน์ในการใช้งาน-ส่วนประกอบภายนอก-ภายในที่สำคัญ-หลัการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ-ข้อควรระวังในการใช้และการบำรุงรักษา5. ท่านมีกิจกรรมในการดำเนินการให้ความรู้อย่างไร?(เขียนรายละเอียดขั้นตอนให้ชัเจนครบทั้ง 3 วัน)6.ท่านจะมีวิธีการวัดและการประเมินผลทั้งด้านทฤฎีและปฏิบัติอย่างไร?- ด้านการปฏิบัติจะทำอย่างไร?(เขียนอธิบายขั้นตอน)- ด้านทฤษฎีจะทดสอบอย่างไร?(ถ้าเป็นแบบทดสอบให้แสดงโจทก์คำถาม ตัวเลือก พร้อมเฉลย เป็นรายข้อทุกข้อให้ชัดเจน)7. ท่านมีเกณฑ์ในการประเมินผลอย่างไร?ให้นำเสนอรายละเอียดทั้งหมดส่งผ่าน e-Mail:krattakorn@hotmail.com ดังนี้- ภาคปกติ ส่งภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2550- ภาคพิเศษ ส่งภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2550
เขียนโดย rattakorn ที่ 6:30 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันศุกร์, กรกฎาคม 13, 2007

Blog คืออะไร
มีหลายคนสงสัยและถามผมว่า Blog คืออะไร? ทำไมอาจารย์จึงพูดถึงบ่อย ๆ และให้นักศึกษาไปเรียนรู้ มันจะนำมาใช้เพื่อประโยชน์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร ?จึงขอโอกาสให้ความกระจ่างเล็กๆ น้อยๆ(ยังมีอีกมาก)เกี่ยวกับเรื่องราวของ Blog ในที่นี้เสียเลยBlog มาจากคำว่า Weblog คือ การเขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสนใจ การบอกเล่าประสบการณ์ หรือการบรรยายการใช้ชีวิตในแต่ละวัน หรือข้อมูลอื่นๆ ลงบนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามาอ่าน ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบใดก็ได้ไม่จำกัด ซึ่งมีลักษณะคล้าย Webboard ซึ่งเราสามารถตั้งหัวข้อเขียนบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ด้วย แต่ต่างจาก Webboard ตรงที่เราสามารถจัดการหน้า Blog ของเราเองได้เหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ สามารถลบ เพิ่มแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาBlog เป็นสื่อหรือตัวกลางอย่าหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ภึงกลับมีคนกล่าวว่า "Goodbye homepage...hello webblog"ซึ่งประโยชน์ของ Blog พอสรุปได้ดังนี้1. เป็นสื่อกลางที่ใช้ในรู้การแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้2. ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น3.ทำให้เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์อยู่เสมอ4.สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจได้ เช่น ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาต่าง ๆ เป็นต้นในด้านรูปแบบการนำ Blog ไปใช้ก็มีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้1. Personal เป็นการเขียน Blog ในลักษณะการเล่าเรื่องส่วนตัว บรรยายถึงความรู้สึกนึกคิด หรือเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ได้ประสบพบเจอในลักษณะของ Diary2. Topical เป็นรูปแบบการเขียน Blog โดยกำหนดหัวข้อหรือจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน เช่น ฟุตบอล การเมือง คอมพิวเตอร์ ฯลฯ3. Collaborative เป็นรูปแบบการเขียน Blog แบบช่วยกันเขียน ช่วยกันปรับปรุงโดยมีผู้เขียนหลาย ๆคน หรือมีการเชื่อมโยงไปยัง Blog อื่น ๆ
cursor