วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา
การสื่อสารมวลชน การที่ข่าวสารจะส่งจากแหล่งส่งไปยังผู้รับได้นั้นสามารถกระทำได้ด้วยกระบวนการของ “สื่อสาร” เมื่อนำกระบวนการนี้มาใช้กับสื่อมวลชนจึงเรียกว่า “สื่อสารมวลชน” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนหรือผู้รับจำนวนมาก โดยที่ผู้ส่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคนที่รวมกันเป็นองค์กรหรือสถาบัน

บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ
เป็นสื่อที่มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อประเภทที่แตกต่างกันนี้ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้รับสารสื่อต่างๆ

สื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม
ดาบสองคม มีทั้งคุณและโทษ อาจดีอาจเสียก็ได้ เปรียบเหมือนสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนก็มีทั่งคุณและโทษเช่นเดียวกันถ้าบุลคลใดที่นำไปใช้ประโยชน์ก็จะได้ประโยชน์มากส่วนบุลคลที่นำไปให้ในทางที่ไม่มีแล้วก็จะเกิดผลเสียแก่ตัวเองและสังคมในทางลบ

มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวี
การจัดเรตติ้งทีวีก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะให้ทีวีแต่ละช่องมีการพัฒนาการรายต่างๆ ให้มีความทันสมัยและผู้ชมสามารถจะเลือกชมได้หลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้ชม

SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมคือ
SMS หมายถึง การส่งข้อความ หรือ การส่งรูปภาพ
ผลดีต่อสังคม
สามารถที่จะส่งไปให้ผู้รับได้กว้างไกล และเป็นการบริการที่ทันสมัยและรวดเร็วเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ผลเสียต่อสังคม
อาจจะมีการส่งไปเมื่อการทำลายให้คนอื่นเสียหาย หาคนส่งยาก

การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอน
- เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
- สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้ - เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ - สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
- แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด

แนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา
สื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่. สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และวีดิทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อประสม
2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

cursor